สาระสำคัญ
1. ในการเขียนตัวเลขแทนจำนวนใด ๆ ในระบบตัวเลขฮินดูอารบิก เราใช้สัญลักษณ์เพียงสิบตัวคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 เรียกสัญลักษณ์สิบตัวนี้ว่า เลขโดด เลขโดดเหล่านี้จะใช้แทนค่าของจำนวนใดขึ้นอยู่กับค่าประจำหลักของหลักที่เลขโดดเหล่านั้นอยู่
2. หลักของตัวเลขเรียงตามลำดับจากหลักที่มีค่าน้อยไปหาหลักที่มีค่ามาก ได้แก่ หลักหน่วย หลักสิบ
หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน หลักสิบล้าน หลักร้อยล้าน ฯลฯ
3. ค่าประจำหลักของหลักที่อยู่ทางซ้ายมือเป็นสิบเท่าของค่าประจำหลักที่อยู่ถัดไปทางขวามือ
4. เลขโดดในหลักต่าง ๆ มีค่าตามค่าประจำหลัก เช่น 5 ในหลักล้านมีค่าห้าล้าน ในหลักสิบล้าน มีค่าห้าสิบล้าน
5. การเขียนตัวเลขแทนจำนวนใด ๆ ในรูปกระจาย เป็นการเขียนตัวเลขแทนจำนวนนั้นในรูปการบวกของค่าของเลขโดดในหลักต่าง ๆ
6. การเรียงลำดับจำนวนหลาย ๆ จำนวน ทำได้โดยการเปรียบเทียบจำนวนทีละคู่ แล้วเรียงลำดับจากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย
7. การนำจำนวนไปใช้ บางครั้ง อาจใช้การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ แทนได้
8. แบบรูปของจำนวนเป็นชุดของจำนวนที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
จำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ตอนที่ 1
จำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ตอนที่ 2
จำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ตอนที่ 3
ค่าประมาณใกล้เคียง
อ้างอิง
http://www.trueplookpanya.com/true/index.php เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2554 เวลา 13.00 น.