ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

จำนวนนับ ประถมศึกษาปีที่ 5

สาระสำคัญ
1. ในการเขียนตัวเลขแทนจำนวนใด ๆ ในระบบตัวเลขฮินดูอารบิก เราใช้สัญลักษณ์เพียงสิบตัวคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 เรียกสัญลักษณ์สิบตัวนี้ว่า เลขโดด เลขโดดเหล่านี้จะใช้แทนค่าของจำนวนใดขึ้นอยู่กับค่าประจำหลักของหลักที่เลขโดดเหล่านั้นอยู่
2. หลักของตัวเลขเรียงตามลำดับจากหลักที่มีค่าน้อยไปหาหลักที่มีค่ามาก ได้แก่ หลักหน่วย หลักสิบ
หลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้าน หลักสิบล้าน หลักร้อยล้าน ฯลฯ
3. ค่าประจำหลักของหลักที่อยู่ทางซ้ายมือเป็นสิบเท่าของค่าประจำหลักที่อยู่ถัดไปทางขวามือ
4. เลขโดดในหลักต่าง ๆ มีค่าตามค่าประจำหลัก เช่น 5 ในหลักล้านมีค่าห้าล้าน ในหลักสิบล้าน มีค่าห้าสิบล้าน
5. การเขียนตัวเลขแทนจำนวนใด ๆ ในรูปกระจาย เป็นการเขียนตัวเลขแทนจำนวนนั้นในรูปการบวกของค่าของเลขโดดในหลักต่าง ๆ
6. การเรียงลำดับจำนวนหลาย ๆ จำนวน ทำได้โดยการเปรียบเทียบจำนวนทีละคู่ แล้วเรียงลำดับจากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย
7. การนำจำนวนไปใช้ บางครั้ง อาจใช้การประมาณค่าใกล้เคียงจำนวนเต็มของหลักต่าง ๆ แทนได้
8. แบบรูปของจำนวนเป็นชุดของจำนวนที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง

 
                                                  จำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ตอนที่ 1

                                                 จำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ตอนที่ 2


                                                 จำนวนนับที่มากกว่า 1,000,000 ตอนที่ 3
                                                                  ค่าประมาณใกล้เคียง
อ้างอิง

http://www.trueplookpanya.com/true/index.php เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2554 เวลา 13.00 น.

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เสิร์ชเอนจิน (search engine)

เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ขึ้นมา

หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
1. การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
2. ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
3. การแสดงผลการค้นหาข้อมูล

เว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลและเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
http://www.yahoo.com/ เป็นเว็บไซต์ที่เก่าแก่ ค้นหาได้ฉับไวและมีฐานข้อมูลหลากหลายครอบคลุมทุกเรื่อง
http://www.google.co.th/ เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก เป็นเว็บไซต์ที่สนับสนุนภาษาต่าง ๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทยด้วย
http://www.altavista.com/ มีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก มีโปรแกรมช่วยในการค้นหาข้อมูลที่มีความสามารถสูง
เทคนิคการ search ขั้นสูง
ในกรณีที่ผลลัพธ์ของการค้นหาแบบขั้นพื้นฐานยังไม่สามารถให้ผลที่ตรงตามความต้องการ การค้นหาขั้นสูงนี้จะช่วยให้สามารถปรับแต่งเงื่อนไขต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การค้นหาขั้นสูงสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่างๆหลากหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยรูปแบบของเงื่อนไขต่างๆที่ระบบสนับสนุนมีดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้ทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ AND กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำทั้งสองเท่านั้น
(2) Phrase Matching คือ ค้นหาวลีหรือข้อความที่ตรงตามรูปแบบนี้เท่านั้น โดยการใช้สัญลักษณ์ (" ") ครอบวลีหรือข้อความที่เราต้องการสืบค้น เช่น "ประมวลรัษฎากร"
(3) ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งคำ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า ภาษี OR เงินได้ จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำใดคำหนึ่งก็ได้
(4) ข้อมูลที่ไม่มีคำเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ NOT กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำว่า หนังสือ แต่ไม่มีคำว่า กระทรวง
(5) เลือกรูปแบบว่าจะค้นหาทั่วโลก โดยการเลือกเช็คบ๊อกซ์แล้วจึงกดค้นหา
(6) กำหนดลักษณะการค้นหาได้แบบไวยากรณ์ ตัวอย่างเช่น "track" ใช้ไวยากรณ์ โดยใช้สัญลักษณ์(~) เช่น ค้นหาคำว่า “ track~ “ จะได้ผลการค้นหาของ track tracks tracking เป็นต้น
(7) สามารถกำหนดกลุ่มคำที่สะกดไม่เหมือนกัน เพื่อสืบค้นได้ (หรือใช้ สัญลักษณ์ % ซึ่งได้อธิบายวิธีการใช้ไว้ในหน้า Basic Search) ซึ่งเลขระดับของการสะกดผิดจะแสดงถึง จำนวนตัวอักษรที่น่าจะสะกดผิด เช่น ค้นหาคำว่า สันพากร เมื่อค้นหาจะได้ผลลัพธ์ของเอกสารที่มี คำว่า สรรพากร เป็นต้น
(8) กำหนดหมวดในการค้นหา ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ในส่วนกลาง (ทุกหมวด), ค้นหาข้อมูลที่ถูกจัดไว้ในหมวดประมวลรัษฎากร
(9) กำหนดขอบเขตการค้นหาแบ่งตามหน่วยงานของกรมสรรพากร ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในภาค 1 จากทุกสำนักงานพื้นที่
(10) กำหนดรูปแบบผลลัพธ์ของภาษา เช่น กำหนดให้แสดงผลลัพธ์เฉพาะเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย หรือ ทุกภาษา
(11) กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
(12) กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
(13) กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อดีของ blog และ web blog ที่รู้จัก

ข้อดีของ blog



1. เป็นแหล่งความรู้ให้กับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้มีโอกาสศึกษาเพิ่มเติม
2. เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูลความรู้ ฯลฯ
3. การสร้างเว็บบล็อกนั้น ผู้เขียนมีอิสระในการนำเสนอรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ที่สำคัญความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ยังมีผู้อื่นพบเห็น จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างขึ้น เพื่อจะไม่ทำผิดซ้ำอีก
4. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ

5. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
6. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
7. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก
8. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา
9. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
10. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
11. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อน
12. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
13. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็น
14. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
15. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อน
16. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
17. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพื่อนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
18. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
19. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
20. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
21. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกัน
22. ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
23. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน
24. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง


Web blog ที่รู้จัก
http://welovemobile.blogspot.com
http://bloggerbuild.blogspot.com/2008/04/13.html
http://exam999.blogspot.com/










วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

           นวัตกรรมที่จะนำมาเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนคือ Ebook นำมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง หลัก ค่าประจำหลัก และค่าประจำหลักของเลขโดด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้เป็นตัวร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้มีความสนใจในการเรียน ทำให้การเรียนการเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอน นอกจากนี้ยังทำให้ให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
อนึ่งเราก็ต้องมาทราบกันก่อนว่า Ebook คืออะไร และมีข้อดีอย่างไร
           e-book คือ "หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม ๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป
รูปแบบของ e-book
- รูปแบบสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง เช่น ซีดีรอม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษรทั้งลักษณะภาพดิจิตอล ภาพแอนิเมชั่น วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่น ๆ
- รูปแบบหนังสือที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ไม่บังคับการพิมพ์และการเข้าเล่ม
- รูปแบบของหนังสือที่สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ลงไปจัดเก็บลงในเครื่อง palm ทำให้สามารถที่จะพกพาหนังสือหรือเอกสารจำนวนมากไปอ่าน ณ ที่ใดก็ได้ เพียงแต่นำเครื่อง palm ติดตัวไปเพียงเครื่องเดียว
รูปแบบไฟล์ของ e-book
HTML (Hyperte Markup Language) สามารถคัดลอกมาแก้ใขดัดแปลงได้
XML (Extensive Markup Language)?
PDF (Portable Document Format)ไม่สามารถคัดลอกข้อมูลได้ เพราะสร้างแบบการคัดลอกจากหนังสือจริง(แสกนมา) ต้องใช้โปรแกรมช่วยดาวโหลดในการอ่าน (adobe)
PML (Peanut Markup Language)?
ข้อดีของ Ebook
1.การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้เกิดความตื่นเต้น และไม่เบื่อหน่าย
2.ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพในแง่ที่ลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย สนองความต้องการและความสามารถของบุคคล มีประสิทธิผลในแง่ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย
3.สามารถทำสำเนาได้อย่างสะดวก ทั้งสำเนาในรูปเอกสารและสำเนาลงในแผ่นซีดีรอมหรือสำเนาลงในฮาร์ดดิสก์
4.เนื่องจากการเปิดอ่านมีระบบการเรียกค้นและการเชื่อมโยง ผู้เรียนหรือผู้อ่านสามารถเลือกเรียนหัวข้อที่สนใจข้อใดก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับไปกลับมาในเอกสารหรือกลับมาเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ (Home Page) เพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตลอดจนสามารถเลือกเรียนได้ตามเวลา และสถานที่ที่ตนเองสะดวก
5.สามารถแสดงด้วยข้อความ และตัวอักษรแล้ว ยังสามารถแสดงข้อมูลที่เป็นกราฟิกภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้พร้อมกัน หรือจะเลือกให้แสดงเพียงย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
6.การจัดเก็บข้อมูลสามารถจัดเก็บได้เป็นไฟล์แยกระหว่างตัวอักษรภาพกราฟิกภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยใช้เท็กซ์ไฟล์เป็นศูนย์รวม แล้วเรียกใช้ร่วมกันได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ที่อยู่คนละที่เข้าที่ด้วยกัน รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเตอมข้อมูลได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว ทำให้สามารถปรับปรุงเนื้อหาในบทเรียนให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้
7.การสร้างและการพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่ากระดาษและสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว ทำให้สามารถปรับปรุงเนื้อหาในบทเรียนให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี
8.ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังศึกษาจากแฟ้มเอกสารหรือหนังสือเล่มอื่นได้ทีเชื่อมโยงอยู่ได้อย่างไม่จำกัดทั่วโลก (กิตติ, 2540:127) เพียงแต่ผู้อ่านใช้เมาส์ (Mouse) และคลิก (Click) ไปในตำแหน่งข้อความ (Link ) ที่สนใจ และโปรแกรม Browser ก็จะทำหน้าที่ เชื่อมโยงข้อมูลหรือเนื้อหามาแสดงผลให้อ่านได้ในทันที
9.เสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นผู้มีเหตุมีผล มีความคิดและทัศนะที่เป็น Logical เพราะการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้เรียนจะต้องทำอย่างมีขั้นตอน มีระเบียบมีเหตุผลพอสมควรเป็นฝึกลักษณะนิสัยที่ดีให้ผู้เรียน
10.ผู้เรียนสามารถบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างเกี่ยวเรื่องและมีความหมาย
11.ผู้สอนมีเวลาติดตอมและตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนได้มากขึ้น รวมทั้งที่เวลาที่จะศึกษาตำราและพัฒนาความสามารถของตนเองได้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งนับว่าเป็นพัฒนาการทางวิชาการ อีกรูปแบบหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันและอนาคต
          แนวคิดที่จำนำ Ebookมาใช้ในการจัดการเรียนรู้คือ ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนหลัก ค่าประจำหลัก และค่าประจำหลักของเลขโดด ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนคือนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้เป็นตัวร่วมในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้มีความสนใจในการเรียน ทำให้การเรียนการเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอน นอกจากนี้ยังทำให้ให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

           สื่อหลายมิติ (2000: 165) ความหมาย สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน

          จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็น ร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่าง ๆ กระโดยข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็น เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการ จำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
           ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิคอย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
           ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่ จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
           สื่อหลายมิติ (Hypermedia) มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
           น้ำทิพย์ วิภาวิน (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
           วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา (2542:53) กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
           กิดานันท์ มลิทอง (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
          การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียน
สรุป
         สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ สื่อหลายมิติที่ได้มีการพัฒนามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเรียนการสอน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหา มีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงหัวข้อต่าง ๆ เป็นต้น
อ้างอิง
http://yupapornintreewon017.page.tl เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/7/2554 เวลา 14:11น.

สื่อการสอน คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง พร้อมอธิบายแต่ละประเภทว่ามีลักษณะอย่างไร


สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
ประเภทของสื่อการสอน
            การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523: 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
- แผนภูมิ (Charts)
- แผนภาพ (Diagrams)
- ภาพถ่าย (Poster)
- โปสเตอร์ (Drawing)
- ภาพเขียน (Drawing)
- ภาพโปร่งใส (Transparencies)
- ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
- แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
- เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
- เครื่องฉายสไลด์ (Slide Projectors)
- เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
- เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
- บทบาทสมมุติ (Role Playing)
- สถานการณ์จำลอง (Simulation)
- การสาธิต (Demonstration)
- การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- กระบะทราย (Sand Trays)
           การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)
ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
- หนังสือแบบเรียน (Text Books)
- หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
- หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
- นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
2. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
- แผนภูมิ (Chats)
- แผนสถิติ (Graph)
- แผนภาพ (Diagrams)
- โปสเตอร์ (Poster)
- การ์ตูน (Cartoons)
3. วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
- เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
- เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
- ฟิล์มสไลด์ (Slides)
- ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
- แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
- เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
          การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์
เอดการ์ เดล (Edgar Dale. 1969 : 107) เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับ
ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรงหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น
ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย
ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น
ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่าการจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น
ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟังและการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัย คำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด
อ้างอิง
http://reg.ksu.ac.th เข้าถึงเมื่อวันที่ 17/7/2554 เวลา 14:11 น.

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร มีลักษณะสำคัญอย่างไร มีบทบาทในการศึกษาอย่างไรและแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาจากการผสมคำระหว่างสารสนเทศ (Information) กับคำว่าเทคโนโลยี (Technology)

           “เทคโนโลยี” หมายถึง เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
           “สารสนเทศ” หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงหมายถึง การติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยผ่านระบบโทรคมนาคม
             เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
สรุป

         เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีระบบมัลติมีเดีย มีวิดีโอออนดีมานด์ วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และอินเตอร์เน็ต
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
http://siriwadee.blogspot.com
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับกับผู้เรียน
อ้างอิง
http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/information2.html
http://gotoknow.org/blog/valairat/242734. 17 มิถุนายน 2554
เข้าถึงเมื่่อวันที่ 17/7/2554 เวลา 14:11น.