ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เสิร์ชเอนจิน (search engine)

เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ขึ้นมา

หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
1. การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
2. ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
3. การแสดงผลการค้นหาข้อมูล

เว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลและเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
http://www.yahoo.com/ เป็นเว็บไซต์ที่เก่าแก่ ค้นหาได้ฉับไวและมีฐานข้อมูลหลากหลายครอบคลุมทุกเรื่อง
http://www.google.co.th/ เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก เป็นเว็บไซต์ที่สนับสนุนภาษาต่าง ๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทยด้วย
http://www.altavista.com/ มีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก มีโปรแกรมช่วยในการค้นหาข้อมูลที่มีความสามารถสูง
เทคนิคการ search ขั้นสูง
ในกรณีที่ผลลัพธ์ของการค้นหาแบบขั้นพื้นฐานยังไม่สามารถให้ผลที่ตรงตามความต้องการ การค้นหาขั้นสูงนี้จะช่วยให้สามารถปรับแต่งเงื่อนไขต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การค้นหาขั้นสูงสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่างๆหลากหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยรูปแบบของเงื่อนไขต่างๆที่ระบบสนับสนุนมีดังต่อไปนี้
(1) ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้ทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ AND กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำทั้งสองเท่านั้น
(2) Phrase Matching คือ ค้นหาวลีหรือข้อความที่ตรงตามรูปแบบนี้เท่านั้น โดยการใช้สัญลักษณ์ (" ") ครอบวลีหรือข้อความที่เราต้องการสืบค้น เช่น "ประมวลรัษฎากร"
(3) ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งคำ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า ภาษี OR เงินได้ จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำใดคำหนึ่งก็ได้
(4) ข้อมูลที่ไม่มีคำเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ NOT กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำว่า หนังสือ แต่ไม่มีคำว่า กระทรวง
(5) เลือกรูปแบบว่าจะค้นหาทั่วโลก โดยการเลือกเช็คบ๊อกซ์แล้วจึงกดค้นหา
(6) กำหนดลักษณะการค้นหาได้แบบไวยากรณ์ ตัวอย่างเช่น "track" ใช้ไวยากรณ์ โดยใช้สัญลักษณ์(~) เช่น ค้นหาคำว่า “ track~ “ จะได้ผลการค้นหาของ track tracks tracking เป็นต้น
(7) สามารถกำหนดกลุ่มคำที่สะกดไม่เหมือนกัน เพื่อสืบค้นได้ (หรือใช้ สัญลักษณ์ % ซึ่งได้อธิบายวิธีการใช้ไว้ในหน้า Basic Search) ซึ่งเลขระดับของการสะกดผิดจะแสดงถึง จำนวนตัวอักษรที่น่าจะสะกดผิด เช่น ค้นหาคำว่า สันพากร เมื่อค้นหาจะได้ผลลัพธ์ของเอกสารที่มี คำว่า สรรพากร เป็นต้น
(8) กำหนดหมวดในการค้นหา ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ในส่วนกลาง (ทุกหมวด), ค้นหาข้อมูลที่ถูกจัดไว้ในหมวดประมวลรัษฎากร
(9) กำหนดขอบเขตการค้นหาแบ่งตามหน่วยงานของกรมสรรพากร ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในภาค 1 จากทุกสำนักงานพื้นที่
(10) กำหนดรูปแบบผลลัพธ์ของภาษา เช่น กำหนดให้แสดงผลลัพธ์เฉพาะเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย หรือ ทุกภาษา
(11) กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
(12) กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
(13) กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์

3 ความคิดเห็น: